4. ความสัมพันธ์แบบการอยู่ร่วมกัน (symbiotic relationships)

                การอยู่ร่วมกันเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างสปีชีส์ ซึ่งสปีชีส์หนึ่ง เรียกว่า symbiont อาศัยอยู่บนอีกสปีชีส์หนึ่ง ซึ่งเรียกว่า โฮสต์ (host) มี 2 แบบ คือ แบบปรสิต (parasitism) และแบบ ภาวะพึ่งพา (mutualism)

           4.1 ภาวะปรสิต (parasitism) สิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ประโยชน์ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งได้รับอันตรายโดยปกติ สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กกว่าจะได้รับสารอาหารจากโฮสต์ ซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษแบบหนึ่งของการล่าเหยื่อ พยาธิตัวตืด โพรโทซัวก่อโรคไข้มาเลเรีย เป็นตัวอย่างของปรสิตภายใน ส่วนปรสิตภายนอก ได้แก่ยุงดูดเลือดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และ เพลี้ยต่างๆที่ดูดน้ำเลี้ยงจากพืช การคัดเลือกโดยธรรมชาติ เป็นผู้กลั่นกรองความสัมพันธ์ระหว่างปรสิตกับโฮสต์    ปรสิตจำนวนมาก โดยเฉพาะจุลินทรีย์ได้ปรับตัวเป็นตัวเบียฬจำเพาะ (specific host )

 พยาธิตัวตืด ส่วนหัว       และตะขอของพยาธิตัวตืด

                                              (ก)                                            (ข)

ภาพที่ 16  (ก) พยาธิตัวตืด (Taenia pisiformis) สามารถทำให้เกิดการอุดตันในลำไส้
(ข) ส่วนหัว และตะขอของพยาธิตัวตืดใช้ยึดเกาะลำไส้เพื่อดูดอาหารจากผนังลำไส้ของโฮสต์
ที่มา: (http://cal.vet.upenn.edu/dxendopar/parasitepages/ cestodes/t_pisiformis.html)

                

           4.2 ภาวะพึ่งพา (mutualism) เป็นการอยู่ร่วมกันที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น   สาหร่าย ( algae) กับรา(fungi) ในพวกไลเคน (lichen)   ปูเสฉวนและดอกไม้ทะเล ไมคอไรซาในรากพืช  มดอาศัยบนต้นอะเคเซีย (Acacia sp.) และโพรโทซัวอาศัยอยู่ใน ลำไส้ปลวก เป็นต้น

ปูเสฉวน ภาวะพึ่งพา

(ก)                                                      (ข)

ภาพที่ 17  (ก) ภาวะพึ่งพา ระหว่างต้นอะเคเซียซึ่งให้ที่อยู่และน้ำหวานที่ปลายใบ  กับ มด คอยป้องกันศัตรู แมลง และเชื้อราที่อยู่ใกล้ๆกับต้นอะเคเซีย (ข) ปูเสฉวน Eupagurus prideauxi  ให้ดอกไม้ทะเลยึดเกาะและพาเคลื่อนที่ ส่วนดอกไม้ทะเล Adamsia palliate  ช่วยพรางตาต่อศัตรูและช่วยล่อเหยื่อเนื่องจากมีเข็มพิษ
ที่มา : (http://www.seawater.no/fauna/ Nesledyr/ eremitt.htm)

ไลเคนบนเปลือกไม้

ภาพที่ 18  ไลเคนบนเปลือกไม้  เป็นการอยู่ร่วมกันของ รา กับ สาหร่าย โดยราให้ที่อยู่อาศัยและความชื้น ส่วนสาหร่ายช่วยสังเคราะห์อาหาร
ที่มา : (http://www.milkmag.org/images/Burckhardt,% 20Lichen%20Tree%202.jpg)

ภาวะพึ่งพาระหว่างนกเอี้ยงหงอน กับควาย

ภาพที่ 19 ภาวะพึ่งพาระหว่างนกเอี้ยงหงอน กับควาย นกเอี้ยงอาศัยการกินอาหารจาก
ปรสิตภายนอก(ectoparasite) บนหลังควาย ส่วนควายได้รับการกำจัดปรสิตออกไป
ที่มา: http://psc.pbru.ac.th/lesson/index-ecosystem.html

แหล่งข้อมูล :  http://psc.pbru.ac.th/lesson/index-ecosystem.html

ใส่ความเห็น